ข่าวทั่วไทย
มีประโยชน์แชร์เก็บไว้เลย! วิธีการรักษาไมเกรน อย่างไรให้ได้ผลและถูกวิธีที่สุด อ่านแล้วจะรู้เลย!
20:15สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน
สาเหตุที่แท้จริงของปวดศีรษะไมเกรนยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบสนอง ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกาย หรืออยู่ภายในร่างกาย มีผลทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบ เมื่อหลอดเลือดขยายจึงปวดศีรษะได้
อาการปวดศีรษะไมเกรน
– อาการปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ บางคนปวดจนน้ำตาไหล ส่วนใหญ่ปวด 4-72 ชั่วโมง
– การเคลื่อนศีรษะ ส่งผลทำให้รู้สึกปวดศีรษะมากขึ้น
– หลังปวดศีรษะอาจมีอาการคลื่นไส้ มากๆ อาจจะอาเจียน
– สิ่งที่กระตุ้นที่ทำให้ปวดศีรษะมากๆ ได้แก่ แสงจ้า เย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง
– สามารถเป็นได้ตั้งแต่อายุยังน้อย
อาการปวดศีรษะไมเกรนนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1) มีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร อาการปวดมักปวดข้างใดข้างหนึ่ง
2) ไม่มีอาการนำเรียก common migrain
การรักษาไมเกรน
ไมเกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้
1. การควบคุมปัจจัยชักนำ
ปัจจัยชักนำไม่ใช่สาเหตุ แต่เป็นเพียงปัจจัยเริ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะมีปัจจัยชักนำไม่เหมือนกัน
– อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น ไนไทรต์ ซึ่งพบในเบคอน ฮอตดอก และเนื้อหมัก ไทรามีน พบในไวน์แดง ตับไก่ อาหารที่ใช้ยีสต์ แทนนิน พบมากในถั่วเปลือกแข็ง น้ำแอปเปิล องุ่น เบอร์รี่ ชา กาแฟ และไวน์แดง ซัลไฟต์ ที่ใช้ในการหมักไวน์และผลไม้แห้ง โมโนโซเดียมกลูตาเมตหรือผงชูรส นอกจากนั้นแล้วยังมีช็อกโกแลต เนยแข็ง อาหารทอด และผลไม้จำพวกส้ม
น้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากหิวหรือกินอาหารคาร์โบไฮเดรตขัดขาวมากเกินไป
หรืออยู่ในภาวะขาดน้ำ
– การนอน ควรนอนให้เป็นเวลา และตื่นให้เป็นเวลาเป็นประจำ โดยควรนอนให้เพียงพอด้วย
– ฮอร์โมน ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดจะดีขึ้น การตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกปวดศีรษะจะเป็นมากระยะหลังตั้งครรภ์อาการปวดจะดีขึ้น หากรับประทานยาคุมกำเนิดแล้วปวดศีรษะมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยง และใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่น
– ความเครียด พยายามควบคุมความเครียด หาเวลานั่งพักหลับตาหยุดคิดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
– ปัจจัยสิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว
2. การรักษาไมเกรนด้วยยา
การรักษาด้วยยาแบ่งออกเป็นการรักษาเมื่อมีอาการปวดศีรษะ [acute treatment] และการรักษาเพื่อป้องกัน [preventive treatment] จะใช้ในกรณีที่ปวดศีรษะรุนแรงและบ่อย ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การปฏิบัติตนเพื่อลดอาการปวดศรีษะไมเกรนอย่างได้ผล ด้วยตนเอง
1. การนวด การนวดเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้ดีและง่ายที่สุด วิธีการนวดให้เรานวดบริเวณขมับ ต้นคอ และช่วงไหล่ โดยนวดไปเรื่อยๆ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของเราผ่อนคลายลง เส้นเลือดก็จะคลายตึง ไม่หดเกร็ง ทำให้อาการปวดหัวไมเกรนทุเลาลง และสามารถใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันการบูร หรือน้ำมันลาเวนเดอร์ มาใช้ในขณะที่เรานวดด้วย จะช่วยให้นวดง่ายขึ้นและรู้สึกผ่อนคลาย
2. นอนพักผ่อน การนอนหลับพักผ่อนจะช่วยให้ระบบเส้นเลือดและกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งได้ผ่อนคลายลง ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งที่เวลาที่เรานอนหลับเราจะรู้สึกหายปวดหัวไปชั่วขณะ แต่พอตื่นนอนมาเรากลับปวดหัวไมเกรนขึ้นมาอีก ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งต้องใช้วิธีอื่นๆ ช่วยเสริมด้วย
3. กินยาพาราแก้ปวดหัว สามารถกินยาพาราเซตามอลเพื่อช่วยลดอาการปวดหัวได้ โดยการกินยาพาราที่ดีนั้นควรกินตั้งแต่ที่เราเริ่มรู้สึกมีอาการทันที อย่าปล่อยให้ปวดหัวนานเกิน 30 นาทีแล้วค่อยกิน เพราะมันจะช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้น้อยกว่า และไม่ควรกินติดต่อกันนานเกินกว่าที่กำหนด
4. ประคบด้วยน้ำแข็ง + แช่เท้าในน้ำอุ่น วิธีการคือใช้ถุงใส่น้ำแข็งประคบที่หัวตรงบริเวณที่ปวด และให้แช่เท้าในน้ำอุ่นไปพร้อมกันด้วย โดยแช่นานประมาณ 20 นาที ทำ 2 วิธีนี้คู่กันไป อาการปวดหัวจะลดน้อยลงหรืออาจหายไปเลยก็ได้
5. จิบน้ำขิงแก้ไมเกรน น้ำขิงที่ดื่มจะเป็นน้ำขิงที่ต้มเองแบบสดๆ หรือจะเป็นน้ำขิงแบบสำเร็จรูปที่เป็นซองๆ ก็ได้ ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่าสารที่อยู่ในน้ำขิงสามารถช่วยแก้ปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี ดื่มน้ำขิงร้อนๆ อร่อย และสามารถช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียดไปในตัวได้อีกด้วย
6. น้ำมันกลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นธรรมชาติของลาเวนเดอร์ มีคุณสมบัติช่วยในการลดอาการปวดหัว รวมไปถึงรักษาไมเกรน โดยการสูดดมตามปกติ หรือการผสมน้ำมันลาเวนเดอร์ 2-3 หยด ลงไปในถ้วยน้ำเดือด แล้วทำการสูดดมไอที่ระเหยขึ้นมา
7. น้ำมันสะระแหน่ มีประโยชน์ในการลดอาการปวดหัว และความเครียดให้น้อยลง โดยการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงช่วยเปิดทางให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
หลักการควรปฏิบัติที่ทำให้การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดี
1. การจดบันทึกอาการของโรคไมเกรนดังนี้
– วันและเวลาที่ปวด
– ระยะเวลาที่ปวด
– อาการอื่นที่พบร่วม เช่น คลื่นไส้อาเจียน สิ่งกระตุ้นเช่น แสง เสียง กลิ่น
2. ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ เช่นรอบเดือนในผู้หญิง
3. ให้คนใกล้ชิดช่วยสังเกตถึงอาการก่อนปวดศีรษะเช่น หิวข้าว หิวน้ำ หาวนอน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า แสง เสียง หนาวสั่น ปัสสาวะ
4. พกยาติดตัวไว้อย่างน้อย 1 ชุดเสมอ
5. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามรับประทานยาเกินแพทย์สั่ง และห้ามหยุดยาทันที
6. ถ้าลืมกินให้กินยาทันทีที่นึกขึ้นได้ ห้ามรับประทาน 2 เท่า
7. หลังจากรับประทานยา ให้หาห้องเงียบๆ มืดๆ นอนพักจนอาการปวดดีขึ้น
8. ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
ทั้งหมดนี้เป็นข้อแนะนำ เพื่อช่วยให้การรักษาอาการปวดศรีษะไมเกรนของคุณได้ผลดียิ่งขึ้น โดยวิธีการที่ดีที่สุดก็คือ ค้นหาว่าปัจจัยใดที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ แล้วหลีกเลี่ยง หากอาการปวดศีรษะรุนแรงมากขึ้นควรพบแพทย์ และปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอนะคะ
เนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
ทีมา http://www.poskhao.com/2016/09/blog-post_92.html
0 comments