ข่าวทั่วไทย
ตำรวจยกเลิกไฟนับถอยหลังสัญญาณไฟแดง ชาวเน็ตไม่เห็นด้วย ?? เพราะทำให้ไม่รู้เวลาเตรียมตัวหยุดหรือออกตัว
17:27เป็นข่าวติดกระแสขึ้นมาทันที… !!! หลังจากที่ตำรวจประกาศเตรียมยกเลิก สัญญาณไฟตัวเลข นับถอยหลัง บอกเวลาของสัญญาณไฟจราจร พร้อมกับ ถาม..?? ทำไม ?? ตำรวจถึงทำแบบนั้น เพราะ สัญญาณนับถอยหลังแบบที่มีอยู่ มันดีมาก ๆ เพราะ เมื่อเวลา ไฟแดงเตรียมเปลี่ยนเป็นไฟเขียว มัน จะสามารถทำให้ ผู้ขับขี่รู้ตัวและเตรียมอยุดรถ ช่วยลดอุบัติเหตุได้มากกว่า ไม่มีตัวเลข
โดย เนื้อข่าวบอกว่า…
จากกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั่งกดไฟสัญญาณจราจรแทนการใช้สัญญาณไฟอัตโนมัติที่มีตัวเลขเคาท์ดาวน์บอกเวลานับถอยหลังเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยรถด้านที่มีการจราจรติดขัดมากกว่า ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันจำนวนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่มองว่าการมีตัวเลขนับถอยหลังดีกว่า เพราะทำให้รู้เวลาที่จะเตรียมออกรถ และมองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจควรบริหารจัดการให้ดีด้วยการปล่อยรถเฉลี่ยเท่า ๆ กัน ไม่ใช่ปล่อยให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งรู้สึกว่าปล่อยแช่นานจนเกินไป รวมทั้งสัญญาณไฟอัตโนมัติยังมีประโยชน์ในเวลากลางคืนซึ่งเป็นเวลาที่รถไม่ค่อยติดเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำงานอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า
19 สิงหาคม 2559 นายทศพล สุภารี กลุ่มงานสัญญาณไฟจราจร สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 2 ระบบ คือ
1. ระบบการควบคุมด้วยมือหรือให้ตำรวจกดไฟ
2. ระบบอัตโนมัติ แบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้
– แบบตั้งเวลาล่วงหน้า โดยมีค่ามาตรฐานตามหลักวิชาการคือรอไฟแดงด้านละไม่เกิน 3 นาที ปัจจุบันมีประมาณกว่า 500 ทางแยก แต่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพการจราจรที่แท้จริง
– แบบสัญญาณไฟจราจรแบบอัจฉริยะปรับตัวได้ (Adaptive Contral) คือไฟที่มีการคำนวณปริมาณรถแต่ละด้าน โดยติดตั้งตัวนับรถหรือระยะแถวรอ หากด้านใดรถท้ายแถวยาวก็จะปรับได้สัญญาณไฟเขียวเพื่อบริหารสัญญาณไฟให้รถแต่ละด้านอย่างสัมพันธ์กัน ปัจจุบันใช้ในพื้นที่รอบนอก 49 ทางแยก เช่น แยกดาวคะนอง, แยกอ่อนนุช-ลาดกระบัง, แยกสาธุประดิษฐ์, แยกถนนตก, แยกนิด้า เป็นต้น ซึ่งพบว่าสามารถลดความล่าช้าในการเดินทางผ่านแยกได้ดี แต่ระบบนี้มีต้นทุนสูง
สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณไฟแต่ละทางแยกที่ใช้อยู่นั้น จะมีชุดอุปกรณ์มาตรฐานทั้งกล่องสัญญาณไฟ ซอฟต์แวร์ ป้ายไฟนับถอยหลัง สัญญาณไฟข้ามถนนสำหรับผู้พิการ ฯลฯ ครบชุดจะอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันทุกเมืองใหญ่ทั่วโลก หากนำมาใช้ในกรุงเทพฯ จะช่วยให้ปัญหาการจราจรดีขึ้น
ด้านนายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า หากนำสัญญาณไฟจราจรแบบอัจฉริยะที่สามารถคำนวณปริมาณรถได้เองมาใช้ทั่วกรุงเทพฯ น่าจะใช้งบประมาณหลักพันล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการใหญ่และเป็นทางเลือกที่ดีหากผู้บริการและรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการศึกษารายละเอียดและออกแบบให้เข้ากับภาพการเดินทางให้กรุงเทพฯ และตนไม่เห็นด้วยกับการตั้งระบบสัญญาณไฟอัตโนมัติที่ใช้กันอยู่เพราะการคำนวณไฟไม่ตรงกับปริมาณรถ อาจทำให้รถติดยิ่งขึ้น
ขณะที่ พล.ต.ท. ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กล่าวว่า การที่มีหน่วยงานหรือภาครัฐนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ถือเป็นเรื่องที่ดีและหากพร้อมสนับสนุน เนื่องจากที่ผ่านมาทาง บช.น. ได้ให้ความสำคัญถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารทุกด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ส่วนกรณีที่ประชาชนยังกังวลว่าหากไม่มีตัวเลขนับถอยหลังแล้วจะไม่รู้เวลาว่าจะติดไฟแดงนานอีกกี่นาทีนั้น ตนต้องการให้เข้าใจว่าในช่วงเวลาเร่งด่วนประชาชนไม่สามารถเคลื่อนรถไปตามเวลาของตัวเลขได้ ดังนั้นในเวลานี้การให้ตำรวจกดไฟเองจะเป็นการระบายรถได้เร็วกว่า
ทีมา http://www.naarn.com/7977/
0 comments