เจิมรธน.ใหม่!?!…ล้างบาง “กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน” แต่ละอย่างบอกเลยมีหนาว คิดจะผูกขาดอำนาจคงอยู่ต่อไปไม่ได้!!?? (รายละเอียด)

เจิมรธน.ใหม่!?!…ล้างบาง “กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน” แต่ละอย่างบอกเลยมีหนาว คิดจะผูกขาดอำนาจคงอยู่ต่อไปไม่ได้!!?? (รายละเอียด) เป็นข้อถกเถียง...

เจิมรธน.ใหม่!?!…ล้างบาง “กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน” แต่ละอย่างบอกเลยมีหนาว คิดจะผูกขาดอำนาจคงอยู่ต่อไปไม่ได้!!?? (รายละเอียด)

เป็นข้อถกเถียงกันมาอย่างเนิ่นาน กับการปฏิรูป “กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน” หลังรัฐบาลต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองท้องถิ่นให้ ทั้งนี้จับตา สปท.ตั้งไข่การปกครองท้องถิ่น รื้อของแข็ง ให้เลือกตั้ง “กำนัน” ทางตรง วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ขณะที่นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย โวยผลักกำนันไปหาซุ้มการเมือง เตรียมค้านเต็มที่
ทั้งนี้การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่ง ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. นัดประชุมในวันที่ 10 เม.ย.นี้ มีวาระพิจารณาที่สำคัญ เรื่องที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เรื่อง ร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่…) พ.ศ….ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ตำแหน่งกำนัน วาระการดำรงตำแหน่ง และการประเมินผลงานปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
โดยทั้งนี้ในข้อเสนอของ กมธ.ฯ การเมือง นั้นมีรายงานที่เป็นเหตุผลประกอบการพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่… ) พ.ศ…. โดยประเด็นที่มาของ กำนันให้ปรับเป็นการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ของตำบลที่มีการเลือกกำนัน ด้วยวิธีให้ประชาชนเลือกผู้ใหญ่บ้านที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนัน จากเดิมที่ให้เป็นสิทธิเฉพาะผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้เลือกกันเองเท่านั้น ขณะที่วาระดำรงตำแหน่ง ที่เสนอปรับให้เหลือ 5 ปี จากเดิมที่มีวาระดำรงตำแหน่งไปจนเกษียณอายุราชการที่ 60 ปี เพราะต้องการสกัดอิทธิพลและการซื้อขายตำแหน่ง ทั้งนี้ยังมีข้อเสนอหลังจากที่ได้รับตำแหน่งแล้ว คือ ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับเลือกให้เป็นกำนัน สามารถดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป และไม่ตัดสิทธิหรือจำกัดจำนวนครั้งของผู้ใหญ่บ้านที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนัน

ขณะเดียวกันนั้นเองในระหว่างที่การทำหน้าที่ของกำนันนั้น ต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่อย่างน้อย ทุกๆ 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับตำแหน่งโดยกำหนดไว้เป็นระเบียบปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต้องกำหนดให้การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วย โดยกำหนดระยะเวลาประเมินผู้ใหญ่บ้าน ทุกๆ 3 ปี หรือเป็นไปตามกรอบเวลาที่ยึดโยงกับนโยบายของรัฐบาลที่ปรับเนื้อหาไปตามปีงบประมาณ เพื่อให้การทำหน้าที่สอดรับและตอบโจทย์การทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ในการประเมินผลดังกล่าวต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตามในข้อเสนอต่อการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่นั้น ให้กำหนดบทเฉพาะกาลด้วยว่า ให้กำนันซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะบังคับใช้ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้ เป็นเวลา 5 ปี ขณะที่ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนหน้าที่กฎหมายใหม่บังคับใช้ให้ดำรงตำแหน่งไปจนอายุครบ 60 ปี เว้นแต่จะพ้นตำแหน่งด้วยเหตุอื่น และเมื่อผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งแล้ว ให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านเข้าดำรงตำแหน่งและให้มีวาระเพียง 5 ปี

ทีมา   http://www.sanookclip.info/2017/04/blog-post_14.html

You Might Also Like

0 comments